การแบ่งความรุนแรงของความเสี่ยงจากการใช้ยาขณะให้นมบุตร (Lactation Risk Categories)

วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

Lactation Risk Categories เป็นเกณฑ์ที่ตั้งขึ้นมาโดยยึดหลักฐานสนับสนุนด้านความปลอดภัยในการใช้ยาในหญิงให้นมบุตร   จัดทำขึ้น โดย Thomas W. Hale, PhD ซึ่งเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้ยาในหญิงให้นมบุตรที่เป็นที่ยอมรับ   เกณฑ์นี้น่าจะเป็นที่ยอมรับและใช้อ้างอิง คล้ายกับ Pregnancy Risk Categories ที่กำหนดโดย FDA  ซึ่งการจัดเข้ากลุ่มของยาต่าง ๆ ยึดตามหลักฐานสนับสนุน และสามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อหลักฐานเปลี่ยนไปโดยสามารถดูนิยามได้จาก http://www.medsmilk.com/pages/lactation_risk_categories

L1 SAFEST: ปลอดภัย

มีการใช้ยาในหญิงให้นมบุตรจำนวนมาก แล้วไม่พบว่าทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ในทารก   และจากการศึกษาทดลองแบบ Controlled studies ในหญิงให้นมบุตร ก็ไม่พบว่ายาจะก่อให้เกิดความเสี่ยงใดๆต่อทารก หรือไม่พบว่าทารกได้รับยาโดยการกิน

L2 SAFER: ค่อนข้างปลอดภัย

มีการศึกษาการใช้ยาในหญิงให้นมบุตรจำนวนจำกัด  และไม่พบว่าทำให้เกิดความเสี่ยงต่ออันตรายในทารก  และ/หรือ ไม่พบหลักฐานความเสี่ยงใดๆในหญิงให้นมบุตรที่ใช้ยานี้

L3 MODERATELY SAFE: น่าจะปลอดภัย

ไม่มีการศึกษาทดลองแบบ Controlled studies ในหญิงให้นมบุตร  ทารกที่ได้รับยาทางน้ำนมจึงอาจยังเสี่ยงต่อผลที่ร้ายแรงได้อยู่  หรือจากการศึกษาทดลองแบบ Controlled studies ในหญิงให้นมบุตร พบอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากยาเพียงเล็กน้อย โดยไม่จำเป็นต้องให้การรักษาใดๆ  ดังนั้นในการพิจารณาใช้ยาควรประเมินข้อดี และข้อเสียที่อาจเกิดจากการใช้ยาในขณะให้นมบุตรก่อน

L4 POSSIBLY HAZARDOUS: อาจเป็นอันตราย

มีหลักฐานว่ายาทำให้เกิดความเสี่ยงต่อทารกที่กินนมแม่  แต่บางครั้งอาจจำเป็นต้องใช้ยานั้นในแม่ที่ให้กำลังให้นม  ถึงแม้ว่าจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อทารกก็ตาม เช่น เป็นยาที่ต้องใช้เพื่อช่วยชีวิต หรือใช้รักษาโรคร้ายแรง โดยไม่มียาที่เป็นยาอื่นที่ปลอดภัยกว่าให้เลือกใช้

L5 CONTRAINDICATED: ห้ามใช้

จากการศึกษาพบว่าทารกที่กินนมจากแม่ที่ได้รับยา  จะมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอันตรายจากยาอย่างมีนัยสำคัญ   และการใช้ยาในขณะที่ให้นมก็พบว่าไม่มีประโยชน์ หรือความคุ้มค่าที่ทารกจะเสี่ยงอย่างชัดเจน  จึงห้ามใช้ยานี้ในหญิงที่กำลังให้นมบุตร

ชื่อเหมือนกันของยา (Drugs synonym)

วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บางครั้งการค้นหาข้อมูลยาใน text book/ ฐานข้อมูล ต่างๆ ไม่เจอเนื่องจากในต่างประเทศ เช่น ทาง USA ใช้เรียกชื่อไม่เหมือนบ้านเรา ดังนั้นอาจต้องลองค้นด้วยชื่ออื่นๆ ที่เป็น synonym ด้วย เช่น
  • Adrenaline = epinephrine
  • Amfetamine = amphetamine
  • Amfepramone = diethylpropion = diethylcathinone
  • Ciclosporin = cyclosporine
  • Diprophylline = dyphylline
  • Ergometrine = ergonovine
  • Etacrynic acid = ethacrynic acid
  • Glibenclamide = glyburide
  • Metamfetamine = methamphetamine
  • Methylergometrine =  methylergonovine
  • Northisterone = norethindrone
  • Pethidine = meperidine = demerol
  • Rifampicin = rifampin
  • Salbutamol = albuterol
  • Vitamine C = ascorbic acid

ข้อมูลเปรียบเทียบของ Cephalosporin ชนิดกิน

วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ข้อมูล
Cefixime
Cefdinir
Cefditoren
ขนาดยา; ผู้ใหญ่
200-400mg/d
300-600mg/d
300-600mg/d
ความถี่ใน
การกินยา
BID/OD
TID/BID
TID/BID
ค่าครึ่งชีวิต(ชม.)
3-4
1.7
0.8-1.6
Cmax (mg/L)
2.0-2.6
0.64-1.74
1.66-3.44
AUC (mg.hr/L)
7.01-22.5
3.4-9.2
3.67-10.02
ผลของอาหารต่อการดูดซึมยา
ไม่มีผล
ยาถูกดูดซึม
ลดลง
ยาถูกดูดซึม
เพิ่มขึ้น
ปฏิกิริยา
ระหว่างยา
No
ตำรับยาที่มีธาตุเหล็ก, Antacid
H2-antagonist
1. Drug vol.38, No.(p. 524-550)
2. Clin. Drug Invest. vol.9 suppl.3 (p1-69) 1995

การใช้ยาในกลุ่ม beta-lactam ให้ได้ผลดี

วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

พบว่ายาในกลุ่ม beta-lactam จะให้ผลการรักษาได้ดีถ้าระดับของยาที่ให้สูงกว่า MIC เป็นระยะเวลานานกว่า 40% ของช่วงการให้ยา เช่น Amoxicillin ขนาด 90 mg/kg/day ทุก 12 ชั่วโมงจะให้ระดับยาสูงเกิน MIC ได้นานกว่า 9-10 ชั่วโมง/วัน เมื่อเทียบกับยาขนาด 45 mg/kg/day ดังนั้นยาในขนาด 45 mg/kg/day จะไม่สามารถฆ่าเชื้อซึ่งมี MIC สูง 2 μg/ml ได้ซึ่งเป็นระดับ MIC ในไทยในช่วงปี พ.ศ. 2529-2543

คุณสมบัติของ Augmentin ES


Augmentin ES เป็นยาที่ไม่มี manitol ซึ่งมีคุณสมบัติอมน้ำเหมือน Augmentin สูตรทั่ว ๆ ไป จึงเกิดอาการถ่ายเหลวน้อยกว่า นอกจากนี้ยังพบว่ายา formula นี้มี carboxymethylcellulose sodium ซึ่งมี pH อยู่ระหว่าง 5-5.5 จะทำให้ยาคงตัวได้ดี ทำให้ไม่เสื่อมสลายได้ง่าย

เอกสารอ้างอิง

การเตรียมสารละลาย DextroseIV

วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สืบเนื่องจากพยาบาล ward 303 ต้องการเตรียม สารน้ำ Dextrose IV เพิ่มจากที่มีในบัญชี ร.พ. [ร.พ.มีความเข้มข้น 5%, 10%, 50%] แต่วิธีคำนวณ  และการเลือกใช้สารตั้งต้นยังเข้าใจไม่ตรงกันระหว่างห้องยาซึ่งเป็นผู้สั่ง  และพยาบาลซึ่งเป็นผู้เตรียม จึงทำให้เกิดการจัดทำ Dilution Chart for Dextrose IV เพื่อให้พยาบาลสามารถเตรียมสารน้ำได้ถูกต้อง รวดเร็วขึ้น และเภสัชกรก็สามารถสั่งสารน้ำให้ ward ได้ตรงกับที่ต้องการ  โดยห้องยา IPD ได้จัดทำตารางการเตรียม Dextrose IV 7.5%, 10%, 12.5% ที่คำนวณไว้ล่วงหน้ามาให้แล้ว เข้าไปดูโดย click ตามหัวข้อที่ list ไว้ และสามารถ download ไปใช้งานได้เลยนะคะ รูปแบบสวยงามน่าใช้ น่าเก็บค่ะ ขอบอก 
1. วิธีคำนวณเพื่อเตรียมสารละลาย DextroseIV
2. ตารางการเตรียม DextroseIV (Dilution Chart for DextroseIV) 
หมายเหตุ  ตารางดังกล่าวให้ใช้ได้เฉพาะการเตรียมจากสารตั้งต้นที่มี Dextrose เป็นส่วนประกอบเพียงตัวเดียวเท่านั้น

แนวทางในการเลือกใช้สารตั้งต้นในการเตรียม

การเตรียมสารน้ำ Dextrose in Water-DW 

  1. ให้ใช้ dextrose 50% เป็นสารตั้งต้นหลักตัวแรก
  2. สารตั้งต้นตัวที่ 2 ควรเลือกเป็น dextrose ที่มีความเข้มข้นต่ำกว่าแต่ใกล้เคียงกับความเข้มข้นที่ต้องการมากที่สุด เช่น การเตรียม 7.5% ควรใช้ dextrose 5% เป็นสารตั้งต้นตัวที่ 2
  3. กรณี ต้องการเตรียมสารน้ำที่มีปริมาณน้อยกว่าขนาดบรรจุของสารน้ำตั้งต้นมาก  ควรพิจารณาขนาดบรรจุของสารตั้งต้นร่วมกับการเลือกโดยใช้ความเข้มข้นของ dextrose  เพื่อประหยัดต้นทุนในการเตรียม เช่น ต้องการเตรียม 12.5%DW 100mL อาจเตรียมจากสารตั้งต้น คือ 50%glucose + D10W 500mL หรือ 50%glucose + D5W 100mL ก็ได้ แต่ค่าใช้จ่าย/ใบสั่งของการเลือก D10W(63฿) จะมากกว่า การใช้ D5W (43฿)

สารน้ำตั้งต้น Dextrose soln. ที่มีใน รพ.

  • 0% (เช่น SWI, 0.9%NSS, 0.45%NSS, 3%NaCl)
  • 5% (เช่น D5W, D5S, D5S/2, D5S/3, D5S/4, D5S/5)
  • 10% (เช่น D10W, D10S, D10S/2) 
  • 50% (เช่น 50%glucose)

ประมาณการค่าใช้จ่าย/ใบสั่งของสารน้ำตั้งต้น

  • 0% (เช่น ทุน 20฿) + 50% (ทุน 23฿)
  • 5% (เช่น 100mL ทุน 20฿, 250 ทุน 35฿, 500 ทุน 40฿) + 50%(ทุน 23฿)
  • 10% (เช่น 500mL ทุน 40฿) + 50%(ทุน 23฿)
Google keywords search;  DextroseIV pharmacisto
IPDpharmacyBUU keywords search; DextroseIV

Link สำหรับอ่านเพิ่มเติม

1. การคำนวณเกี่ยวกับน้ำเกลือ
2. วิธีการเตรียมสารน้ำในกรณีที่ไม่มีความเข้มข้นที่แพทย์ต้องการใช้ในโรงพยาบาล

ยาสำหรับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง

วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ปัญหาที่จำเป็นต้องรักษาด้วยยา

1. ภาวะน้ำเกิน (fluid over load)

2. ภาวะของเสียคั่งจากการที่ไตไม่ทำงาน (uraemia)
  • อาการ เช่น คัน คลื่นไส้  ขาอ่อนแรง หรือเป็นตะคริว

3. โรคความดันโลหิตสูง

4. ภาวะโลหิตจาง (anaemia)

4. ภาวะเกลือแร่ในร่างกายผิดปกติ เช่น 

  • โปแตสเซียมสูง หรือต่ำ(hypokalemia or hyperkalemia)
  • ฟอสเฟตเกิน (hyperphosphataemia)
  • แคลเซียมต่ำ (hypocalcaemia)

5. ภาวะความเป็นกรดร่างกาย (Acidocis)

6. ท้องผูก

7. เก๊าท์

8. โรคกระเพาะ

9. โรคร่วมอื่นๆ เช่น เบาหวาน  ภาวะไขมันในเลือดสูง


 

Pharmacist-OK Copyright © 2011-2012 | Powered by Blogger